คนเราทุกคนที่ได้ครบหากันเราเชื่อว่ามันคงเริ่มต้นที่ 100 % แต่หลังจากนั้นมันก็จะค่อยลดลงไปจนกระทั้งหมดมันอาจจะด้วยเหตุผลหลายๆ อย่างที่เป็นองค์ประกอบ วันนี้เราจะเอาวิธีที่จะช่วยให้เรารักษาความเชื่อใจให้อยู่กันไปนานๆ
1.พูดตรงๆ แต่พูดให้เป็น
จำไว้ว่า ยิ่งเราใช้คำพูดยากๆ และเยิ่นเย้อมากเท่าไร ก็ยิ่งสร้างความระแวงแคลงใจมากขึ้นเท่านั้น การพูดตรงนอกจากจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกถึงน้ำใสใจจริงและความแน่วแน่ของคุณแล้ว ยังทำให้เขาเข้าใจความคิดของคุณอย่างชัดเจนอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่ที่กล้าตักเตือนลูกในเรื่องสำคัญๆ เช่น เรื่องยาเสพติด การคบเพื่อนเรื่องเซ็กซ์ ฯลฯ จะทำให้ลูกเข้าใจและเชื่อฟังมากกว่าพ่อแม่ที่สอนอย่างกล้าๆ กลัวๆ มากนัก
ข้อควรระวังมีเพียงอย่างเดียว นั่นคือ อย่าพูดตรงเกินไปจนดูเหมือนไร้มารยาท เพราะต่อให้เป็นความจริง แต่ถ้าเป็นความจริงในแง่ลบ ก็ยังต้องหาเวลาและโอกาสที่เหมาะสมในการพูด
2.ให้ความสำคัญกับทุกคน
การตระหนักถึงความสำคัญของคนรอบข้างเป็นเรื่องเล็กๆ ที่มีพลานุภาพมาก หลักการง่ายๆ คือขอให้เราปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา ส่วนอะไรที่เราไม่ชอบ ก็ไม่ทำสิ่งนั้นกับใครทั้งสิ้น เพียงเท่านี้ก็สามารถเก็บคะแนนความไว้ใจจากใครต่อใครได้แล้ว
3.จริงใจและให้เกียรติผู้อื่น
ไม่ปากหวานต่อหน้า แต่นินทาลับหลัง และให้เกียรติผู้อื่นเสมอ ทุกครั้งที่คุณพูดถึงผู้อื่น ให้คิดว่าคนคนนั้นอยู่ที่นั่นกับคุณด้วย
4.สร้างความเข้าใจ
โปร่งใส ไม่หมกเม็ด ความไว้วางใจจะเกิดขึ้นได้ถ้าทั้งทุกๆ ฝ่ายมีความเข้าใจในกันและกันอย่างแท้จริงเช่น ถ้าเป็นเรื่องงาน หากเจ้าของบริษัทผู้บริหาร และพนักงานฝ่ายต่างๆ มองเห็นเป้าหมายที่ตรงกัน รู้ว่าหน้าที่ของตนมีอะไรบ้าง และตั้งใจทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด การทำงานก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ต้องพยายามทำทุกอย่างให้โปร่งใส ไม่ปิดบัง อย่างเรื่องในครอบครัว จริงอยู่ที่สามี – ภรรยาอาจไม่จำเป็นต้องบอกทุกเรื่องของตนให้คู่ชีวิตรู้ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอีกฝ่ายโดยตรง หรือเป็นเรื่องที่คนที่เรารักอยากรู้ เราก็ควรบอกความจริงกับเขา หากทำได้สามี – ภรรยาก็จะไว้ใจกันและกัน และบ้านก็จะกลายเป็นบ้านที่อบอุ่น
5.แก้ไขในสิ่งผิด
อย่างที่เรารู้กันดีว่า ความผิดเพียงครั้งเดียวอาจ ทำให้ความไว้วางใจที่อุตส่าห์สร้างสมมาพังครืนลงมาได้ในพริบตา แต่ในขณะเดียวกัน หากทำผิดแล้วรู้จักแก้ไข ก็สามารถฟื้นฟูความไว้วางใจได้เช่นกัน และอาจทำให้ได้รับความไว้วางใจมากกว่าเดิมด้วย
6.ทำตามสัญญาทุกครั้ง
การให้สัญญาก็คือการผูกมัด ซึ่งในแง่หนึ่งคำสัญญาเป็นแรงผลักดันให้เราตั้งใจทำทุกอย่างเพื่อรักษาสัญญา และหากรักษาสัญญาได้ต่อเนื่อง ความน่าเชื่อถือจะพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ถ้ารักษาสัญญาไม่ได้ คะแนนความไว้ใจก็จะติดลบทันที ดังนั้นทุกครั้งก่อนจะให้สัญญา จึงต้องใคร่ครวญอย่างรอบคอบว่าเราพูดในสิ่งที่ทำได้และสามารถทำในสิ่งที่พูดได้จริงๆ
7.พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
ถ้าอยากได้ความไว้วางใจจากคนรอบข้าง ต้องหมั่นเอาใจเขามาใส่ใจเราและไม่ทำผิดเรื่องเดิมซ้ำๆ สำหรับคนทำงาน จำไว้ว่าเจ้านายไม่ได้เฝ้ารอลูกน้องที่เก่งแบบฟ้าประทาน แต่ต้องการลูกน้องที่รู้จักพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาตัวเองต้องคำนึง 2 เรื่อง คือ หนึ่ง เราต้องไม่เอาแต่เสาะแสวงหาความรู้ แต่ไม่กล้าตัดสินใจลงมือทำและไม่รู้จักสร้างผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน และสอง ต้องไม่คิดว่าสิ่งที่เรารู้ใช้ได้กับทุกเรื่อง แต่จงเรียนรู้โดยไม่หยุดนิ่ง กล้าที่จะทดลองในสิ่งแปลกใหม่ และอย่ากลัวความล้มเหลว เพราะคนเราเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากความผิดพลาดของตัวเอง
8.กล้าสู้ความจริง
คนที่กล้าเผชิญหน้ากับความจริงจะได้รับความ เชื่อถือและสามารถทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อเกิดปัญหา แทนที่จะต้องแก้เองตามลำพัง ก็จะมีคนช่วย ยกตัวอย่าง บริษัทที่ประสบภาวะขาดทุน หากเจ้าของกล้ายอมรับความจริง ไม่กลัวเสียหน้า ก็จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นและไว้ใจจากผู้บริหารและพนักงานได้มากกว่า ทุกๆ ฝ่ายจะหันมาช่วยกันแก้ปัญหา บรรยากาศในองค์กรก็จะดีขึ้น และสามารถแก้ปัญหาได้เร็วขึ้นกว่าเดิม
9.เป็นผู้ฟังที่ดี
ก่อนที่จะนำเสนอไอเดียของตัวเองหรือฟันธง ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควรตั้งใจฟังความต้องการและเงื่อนไขของคนที่คุณพูดคุยด้วย เพราะถ้าคุณไม่สนใจฟังเขา เขาก็จะรู้สึกไม่ไว้ใจคุณ ดังนั้น คราวหน้าเมื่อสนทนากับใคร ลองถามตัวเองว่า “ฉันรับฟังคนคนนี้จริงๆ หรือเปล่า” จากนั้นวางความคิดของตัวเองไว้ข้างๆแล้วเปิดใจฟังอีกฝ่ายอย่างลึกซึ้ง
10.ไว้ใจเขาก่อนจะให้เขาไว้ใจเรา
เรื่องจริงที่คนมักมองข้ามคือ เมื่อเรามอบความไว้วางใจในผู้อื่น เราก็มักจะได้รับความไว้ใจจากคนคนนั้นกลับมา สำคัญตรงที่เราต้องรู้จักเลือกคนที่จะไว้วางใจ และเมื่อวางใจแล้วก็ต้องมอบอำนาจให้เขาอย่างไม่มีเงื่อนไข ยกตัวอย่างในครอบครัว ถ้าพ่อแม่ไว้ใจลูก ระบุความคาดหวังให้ชัดเจนและให้กรอบบางอย่างแก่เขา ที่เหลือต้องยอมให้ลูกตัดสินใจเอง ลูกจะเกิดความเชื่อมั่นและพยายามทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้พ่อแม่ผิดหวัง ตรงกันข้าม ถ้าพ่อแม่มองลูกเป็นเด็กตลอดเวลาและคอยสอดส่องลูกทุกฝีเก้า ลูกก็จะรู้สึกระแวงพ่อแม่ รวมทั้งไม่ไว้ใจตัวเองด้วย