คิดจะรักกันไปนานๆ
ต้องรู้จัก “คำขอโทษ ที่ไม่ต้องถามหาเหตุผล”
ลูกชาย : พ่อครับ ผมจะแต่งงานนะครับ
คุณพ่อ : แกต้องขอโทษพ่อก่อน!
ลูกชาย : ทำไมผมต้องขอโทษล่ะครับ?
คุณพ่อ : แกขอโทษก่อนเถอะน่า!
ลูกชาย : เพราะอะไร? ผมผิดอะไรครับพ่อ?
คุณพ่อ : แกขอโทษนะถูกแล้ว!
ลูกชาย : ผมทำอะไรผิดเหรอครับพ่อ?
คุณพ่อ : ขอโทษก่อน!
ลูกชาย : ทำไมครับ?
คุณพ่อ : ขอโทษพ่อก่อน!
ลูกชาย : พ่อบอกเหตุผลมาก่อนว่าเพราะอะไร?
คุณพ่อ : ขอโทษมาก่อน!
ลูกชาย : ผมอยากรู้ว่าผมทำผิดอะไรครับพ่อ?
คุณพ่อ : ขอโทษก่อน!
ลูกชาย : ก็ได้ครับ ผมขอโทษพ่อครับ!
คุณพ่อ : ตอนนี้แกแต่งงานได้แล้ว!
นี่เป็นบททดสอบแรกก่อนที่แกจะแต่งงาน
เมื่อไหร่ที่แกรู้จักขอโทษ
โดยที่ไม่ต้องรู้ถึงสาเหตุและเหตุผล
แกมีคุณสมบัติในการแต่งงาน
ชีวิตครอบครัวของแกจะยั่งยืน
“ขอโทษ”
คือทำกล่าวของคนที่ทำความผิด
ความเข้าใจเช่นนี้
ถูกต้องแล้วสำหรับคนทั่วไป
แต่สำหรับคู่ชีวิต
มิตรสหายหรือครอบครัว
บางครั้งก็ต้องพูดออกมา
ทั้งๆ ที่มันไม่มีที่มาและที่ไป
ไม่มีเหตุและผลให้ถามหา
เพราะต่อให้เถียงกันจนชนะ
ด้วยเหตุผลของใครคนใดคนหนึ่ง
ผลลัพธ์คือแพ้ราบคาบด้วยกันทั้งสองฝ่าย
นี่คือความต้องการของทั้งสองหรือไม่?
คำตอบคือ ไม่!
แต่ทำไมเวลาไม่เข้าใจกัน
กลับไม่กล้าขอโทษอีกฝ่ายหนึ่งเล่า?
คำตอบคือ เพราะทิฐิ
หากใครคนใดคนหนึ่งง้ออีกฝ่ายหนึ่งก่อน
ขอโทษอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เธอจงรู้ไว้
เขาอาจไม่ใช่ฝ่ายผิด!
แต่เพราะเขารักอีกฝ่ายหนึ่ง
มากกว่าคำว่าฝ่ายใดเป็นผู้ผิด
เขาเป็นเพียง
ผู้ที่ยอมลดอัตตาของตัวเองลงก่อน
หากเขาผิด แล้วเขาขอโทษ
นั่นแปลว่าเขารู้ผิดและอยากแก้ไข
หากเราผิด แล้วเขาขอโทษเราก่อน
นั่นแปลว่าเขาถนอมความรู้สึกของเรา
เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเอ่ยคำขอโทษ
อีกฝ่ายหนึ่งต้องพร้อมให้อภัย
ให้อภัยโดยไม่ติดใจ
หากให้แต่ปากแต่ติดค้างอยู่ที่ใจ
สักวันสะเก็ดจะกลายเป็นแผลร้าย
ลุกลามจนเกินเยียวยา
ลูกเอ๋ย จงจำไว้ อีกหนึ่งเคล็ดลับของการประคองชีวิตคู่ก็คือ
“คำขอโทษที่ไม่ต้องมีเหตุผล”