การหย่าร้าง คู่แต่งงานคงไม่มีใครอยากให้เกิดกับชีวิตสมรสของตนเองกันทั้งนั้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกวันนี้อัตราการหย่าร้างในไทยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี เพราะไม่ว่าเราจะดูข่าวจากโทรทัศน์ หรืออ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ ก็เจอแต่ข่าวดาราเลิกกัน สามีภรรยาตบตีกัน หรือแม้กระทั่งแฟนหึงโหดจนถึงขั้นฆ่ากันตายก็มี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ต่างประเทศได้พิสูจน์แล้วว่า 7 ปัจจัยนี้ส่งผลให้ชีวิตคู่จบลงด้วยการหย่ามากที่สุด วันนี้เรามีคำตอบมาฝากค่ะ
เวลาจะรักษาใจเราเอง ?.จริงเหรอคะ?
1. แต่งงานกันในช่วงวัยรุ่น หรืออายุเกินกว่า 32 ปี
จากการวิจัยของ ศาสตราจารย์ Nicholas Wolfinger พบว่าการแต่งงานในช่วงวัยรุ่นของคุณทำให้คุณมีความเสี่ยงสูงในการหย่าร้าง ยิ่งไปกว่านั้นผู้ที่แต่งงานในช่วงอายุ 30 กลางๆ มีอัตราเสี่ยงที่มากกว่าผู้ที่แต่งงานในช่วง 20 ปลายๆ หรือ 30 ต้นๆ ซึ่งช่วงวัยที่เหมาะสมกับการแต่งงานที่สุด คือ ช่วงอายุ 20 ปลายๆ
2. สามีไม่มีงานทำที่เป็นหลักแหล่ง
หากคุณกำลังสงสัยว่า เงินจะเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิตคู่ไหม งานวิจัยของ Alexandre Killewald แห่งมหาวิทยาลัย Harvard ระบุว่า สามีที่มีงานทำเป็นหลักแหล่ง จะมีอัตราการหย่าร้างในปีต่อมาเพียง 2.5% เท่านั้น ในขณะที่สามีที่ไม่มีงานทำเป็นหลักเป็นแหล่ง มีอัตราการหย่าร้างสูงถึง 3.3%
3. เรียนไม่จบมัธยมปลาย
อ้างอิงจาก National Longitudinal Survey of Youth ได้บอกไว้ว่า ผู้ที่เรียนไม่จบชั้นมัธยมปลาย มีโอกาสหย่าร้างมากกว่าผู้ที่เรียนจบมหาวิทยาลัยมากถึง ร้อยละ 30
4. บุคลิกที่มีต่อคู่ครอง
นักจิตวิทยาของ University of Washington, John Gottman กล่าวว่า พฤติกรรมของความสัมพันธ์ทั้ง 4 แบบคือสัญญาณอันตรายสำหรับคู่สามีภรรยา ประกอบด้วย ความหยิ่งยโส ที่มักคิดว่ายังไงคู่ของคุณก็อยู่ข้างคุณเสมอ การวิพากษ์วิจารณ์ การไม่รู้จักกาลเทศะ และการตั้งกำแพงใส่กัน
5. ความจืดจางและความเบื่อหน่าย
Tud Huston นักจิตวิทยาได้ตามศึกษาคู่สมรสกว่า 168 คู่นับตั้งแต่วันที่พวกเขาแต่งงานกันโดยใช้เวลากว่า 13 ปีในการติดตามผลการสัมภาษณ์ ซึ่งผลที่ได้ออกมาคือ คู่รักส่วนใหญ่จะเริ่มเลิกรากันในช่วงปีที่ 7 ขึ้นไป เพราะพวกเขาเริ่มที่จะเบื่อหน่ายกันแล้ว
6. เคลียร์ปัญหาด้วยความเงียบ
อีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้คู่รักหย่าร้างกันมานักต่อนัก คือ เมื่อเวลาเกิดปัญหาต่างฝ่ายต่างเงียบใส่กัน ไม่หันหน้าคุยกันแต่กลับเอาเรื่องไปบ่นให้คนอื่นฟัง
7. การอธิบายถึงความสัมพันธ์ในแง่ลบ
Gottman ได้สัมภาษณ์คู่รักที่เพิ่งแต่งงาน 95 คู่ ด้วยวิธี “Oral History Interview” ซึ่งจะเอาไว้ถามคู่รักในด้านความสัมพันธ์ระหว่างทั้งคู่ ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาแสดงให้เห็นความจุดอ่อนและจุดแข็งของคู่รักคู่นั้น โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้วัดผลและให้คะแนนมีดังนี้
? ความพอใจในกันและกัน
? มีคำว่า “เรา” น้อยลง
? เอาใจใส่กันอยลง
? เริ่มคิดแง่ลบ
? ผิดหวังในชีวิตแต่งงาน
? บอกว่าชีวิตแต่งงานนั้นวุ่นวาย